การวางแผนการลงทุนไม่ต่างจากการวางแผนก่อนการเดินทาง คุณต้องรู้ว่าคุณจะไปที่ไหนจะได้เลือกได้ว่า จะเดินทางด้วยพาหนะอะไร พักค้างแรมที่ไหน ซึ่งในการวางแผนการลงทุนก็ต้องตอบให้ ได้ว่า เป้าหมายการลงทุน คืออะไรเพื่อแต่งงานสร้างครอบครัว เพื่อการศึกษาบุตร เพื่อชีวิตหลังเกษียณ ฯลฯ เนื่องจากเป้าหมายจะเป็นตัวกำหนดจำนวนเงินที่ต้องการและเวลาที่จะใช้ในการลงทุนและอัตราผลตอบแทนที่สอดคล้องกับเป้าหมายนั้น ๆ
|
ทั้งนี้ เป้าหมายอาจแปรเปลี่ยนได้ในแต่ละช่วงชีวิต เช่น หลังเรียนจบบางคนอาจอยากมุ่งเข็มสู่การทำงาน บางคนอาจอยากไปเรียนต่อต่างประเทศ จากนั้นอาจมองเรื่องผ่อนบ้านเพื่อเตรียมแต่งงาน และเป้าหมาย สุดท้ายก็อาจจะเป็นการเก็บสะสมเงินก้อนเพื่อไว้ใช้ในวัยเกษียณเป็นต้น |
|
เป้าหมายการลงทุนควรจะมีความชัดเจน เพื่อจะได้รู้ระยะเวลา จำนวนเงินลงทุน และอัตราผลตอบแทนที่สอดคล้องกับเป้าหมายนั้น ๆ เช่น สมมติว่า เรามีอายุ 25 ปี หากมีเป้าหมายเกษียณอายุในอีก 25 ปี แสดงว่าเรายังมีระยะเวลาลงทุนที่ค่อนข้างนาน อาจกันเงินมาลงทุนจำนวนหนึ่งไม่ต้องสูงมาก นำมาลงทุนอย่าง สม่ำเสมอจนเกษียณ แต่หากมีเป้าหมายจะซื้อรถในอีก 6 เดือน มีเงินออมเริ่มต้นไม่มากนัก อาจต้องเลือกวิธี ลงทุนที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนที่สูง เพื่อให้บรรลุเป้าหมายเร็วขึ้น แต่โอกาสที่จะไม่ได้ผลตอบแทนตามคาด ก็สูงเหมือนกัน เป็นต้น |
|
ในกรณีที่เป้าหมายการลงทุนที่เราตั้งไว้ ต้องการได้รับผลตอบแทนสูง แต่เราเป็นผู้ที่ไม่สามารถรับ ความเสี่ยงที่จะสูญเสียเงินต้นได้เลยนั้น แสดงว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้อาจไม่สอดคล้องกับตัวเราเอง จึงควรต้องปรับเปลี่ยนเป้าหมายใหม่ เช่น ตามตัวอย่างเดิมที่มีเป้าหมายที่จะซื้อรถในอีก 6 เดือน แต่หากเรา รับความเสี่ยงไม่ได้มาก โอกาสที่จะบรรลุเป้าหมายคงยาก เราอาจต้องกลับมาปรับเปลี่ยนเป้าหมายใหม่ โดยอาจลดราคาของรถที่อยากได้ลง โดยเปลี่ยนไปซื้อรถมือสองหรือขยายระยะเวลาลงทุนให้นานขึ้น เป็นต้น |
|
โดยปกติแล้ว ผู้ลงทุนที่มีเป้าหมายการลงทุนที่ใช้ระยะเวลาในการลงทุนค่อนข้างยาวอาจสบายใจกว่า หากจะนำเงินนั้นไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูง เพราะแม้จะเจอสภาวะเศรษฐกิจขึ้น ๆ ลง ๆ หรือ ตลาดการลงทุนผันผวนบ้าง ซึ่งอาจทำให้ผลการลงทุนอาจมีขาดทุนไปบ้างในบางช่วงเวลา ก็ไม่น่าเป็นห่วงอะไรเพราะลงทุนระยะยาวอยู่แล้ว แต่ถ้าเป็นเป้าหมายการลงทุนที่ใช้เวลาในการลงทุนระยะสั้น เช่น ต้อง เก็บเงินเพื่อเรียนต่อ หรือซื้อรถ ไม่ควรนำเงินไปลงทุนแบบเสี่ยงมากจนเกินไป เพราะหากเกิดเจอช่วงผันผวนแล้ว ขาดทุนก็จะทำให้แผนการเรียนต่อได้รับผลกระทบได้
3.สำรวจความเสี่ยง
ความเสี่ยง คือ โอกาสที่ผลตอบแทนไม่เป็นไปตามที่คาดไว้ทั้งในทางที่มากกว่าหรือน้อยกว่า |
|
ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการลงทุน คือ การลงทุนมีความเสี่ยง จะเสี่ยงมากเสี่ยงน้อยขึ้นอยู่กับสิ่งที่คุณไปลงทุน หากว่ากันตามหลักสากล high risk high (expected) return ก็หมายความว่า การลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง จะมีโอกาสได้กำไรงาม ๆ หรือขาดทุนถึงขั้นสูญเสียเงินต้นได้ และในทางตรงกันข้าม การลงทุนที่มีความเสี่ยงต่ำย่อมให้ผลตอบแทนต่ำเช่นกัน |
|
ความเสี่ยงและผลตอบแทนในเรื่องการลงทุน เป็นเรื่องที่แยกจากกันไม่ได้ “ใครจะมาชวนลงทุนแล้วบอกว่าไม่เสี่ยงเลยแถมได้ผลตอบแทนดีอีกต่างหาก” อย่าไปหลงเชื่อเลยทีเดียว เพราะการลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยงนั้นไม่มี ถ้าคิดจะลงทุน ไม่ว่าจะเป็นในหุ้น ตราสารหนี้ หรือกองทุนรวม ต้องเข้าใจก่อนว่ามี โอกาสที่จะขาดทุนได้ทั้งสิ้น |
|
ไม่ลงทุนดีกว่ามั้ย จะได้ไม่เสี่ยง? ประโยคนี้คงไม่เป็นจริงสักเท่าไร เพราะการไม่ลงทุนแม้ตัดปัญหาเรื่องความเสี่ยงจากการขาดทุน แต่อย่าลืมว่าอัตราเงินเฟ้อคอยจ้องกัดกินค่าเงินของคุณอยู่ตลอดเวลา เช่น ฝากเงินธนาคาร 100 บาท ได้ดอกเบี้ย 4% สิ้นปีจะมีเงิน 104 บาท (หากไม่ถูกหักภาษี) แต่ปีนั้น อัตรา เงินเฟ้ออยู่ที่ 2% นั่นคือ ระดับราคาสินค้าตอนต้นปี 100 บาท ปลายปีจะเป็น 102 บาท เห็นได้ว่า คุณไม่ได้รวยขึ้น 4 บาท เพราะเงินเฟ้อทำให้คุณได้กำไรที่แท้จริงเพียง 2 บาท ดังนั้น หากเมื่อใดอัตราเงินเฟ้อมากกว่าอัตราผลตอบแทนที่คุณได้ อัตราผลตอบแทนที่แท้จริงจะติดลบทันที
4.จัดพอร์ตการลงทุน
เมื่อสำรวจความพร้อมทางการเงินและกำหนดเป้าหมายการลงทุนที่ชัดเจนแล้ว ก็ได้เวลาจัดพอร์ตการลงทุนให้มีการกระจายเงินลงทุนในสินทรัพย์ประเภทต่าง ๆ เช่น หุ้น ตราสารหนี้ เงินฝากธนาคาร ซึ่งเป็นวิธีที่ช่วยจัดการความเสี่ยงในการลงทุนได้
ลองค้นหาตัวเองว่า พอร์ตลงทุนแบบไหนที่เหมาะสมกับตัวเรา
|
รูปแบบการฝากเงินในธนาคารเพียงอย่างเดียวทำให้เงินโตช้า เราจึงควรหาวิธีเร่งการเติบโตเงินในกระเป๋า ด้วยการแบ่งเงินเพื่อลงทุนในกลุ่มสินทรัพย์หลายๆ ประเภท เพื่อลดความเสี่ยงและสร้างผลตอบแทนให้เป็นไปตามที่คาดหวัง ผ่านการลงทุนในทรัพย์สิน 3 กลุ่มหลัก ดังนี้1. กลุ่มสินทรัพย์เพื่อถือระยะสั้น สามารถออกตัวง่าย แต่ไม่ได้ดอกเบี้ยเป็นกอบเป็นกำ (ประมาณ 1%) มีไว้ใช้จ่ายประจำวันและกรณีฉุกเฉินต่างๆ ได้แก่ เงินฝากออมทรัพย์ หรือสินทรัพย์คล้ายเงินฝาก เช่น กองทุนรวมตลาดเงิน เป็นต้น กลุ่มสินทรัพย์เหล่านี้มีความเสี่ยงต่ำที่สุดในบรรดากลุ่มสินทรัพย์ทั้ง 3 กลุ่ม
2. กลุ่มสินทรัพย์เพื่อกระแสรายได้ ให้ผลตอบแทนค่อนข้างสม่ำเสมอ ได้แก่ เงินฝากประจำ พันธบัตร หุ้นกู้ กองทุนรวมตราสารหนี้ เป็นต้น กลุ่มสินทรัพย์เหล่านี้มีความเสี่ยงปานกลาง
3. กลุ่มสินทรัพย์เพื่อเพิ่มมูลค่าเงินลงทุน เป็นการลงทุนที่มีความเสี่ยงสูง แต่จะช่วยเพิ่มมูลค่าเงินลงทุนในระยะยาว (อาจให้ผลตอบแทนมากกว่า 5%) เช่น หุ้น กองทุนรวมหุ้น ETF เป็นต้น กลุ่มสินทรัพย์เหล่านี้ มีความเสี่ยงสูงสุดในบรรดากลุ่มสินทรัพย์ทั้ง 3 กลุ่ม
ข้อสำคัญ คือ ทุกคนควรลงทุนในสินทรัพย์ทั้ง 3 กลุ่ม โดยมีสัดส่วนในแต่ละกลุ่มมากน้อยแตกต่างกันไปตามระดับความเสี่ยงที่แต่ละคนยอมรับได้และระดับผลตอบแทนที่คาดหวังตามเป้าหมายการลงทุนที่ตั้งไว้ สำหรับคนที่รับความเสี่ยงได้น้อยควรลงทุนใน “กลุ่มสินทรัพย์เพื่อเพิ่มมูลค่าเงินลงทุน” ในสัดส่วนน้อย ส่วนคนที่รับความเสี่ยงได้มากควรลงทุนใน “กลุ่มสินทรัพย์เพื่อเพิ่มมูลค่าเงินลงทุน” ในสัดส่วนที่มาก คุณสามารถทดลองทำแบบประเมิน เพื่อค้นหาพอร์ตการลงทุนที่เหมาะสมกับเป้าหมายการลงทุนที่ตั้งไว้ (Investment Objective Setting : IOS) ได้ตาม Link http://www.wealthmagik.com/IOS/IOSProfile.aspx
5.ประเมินผลการลงทุนเพื่อปรับพอร์ตการลงทุน
การลงทุนที่จะให้ผลสำเร็จ นอกจากจะมีการวางแผนที่ดีแล้ว ก็ควรหมั่นทบทวนและปรับปรุงแผนการลงทุนให้สอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบันอย่างสม่ำเสมอด้วย |
เช่น อย่างน้อยทุก 6 เดือน หรือทุก 12 เดือน หรือทุกครั้งที่มีเหตุการณ์สำคัญ ๆ ที่ส่งผลกระทบต่อตลาดทุน เช่น วิกฤติการณ์ตลาดหุ้นผันผวน ภาวะอัตราดอกเบี้ยในท้องตลาดมีแนวโน้มลดลง เป็นต้น เพราะเหตุการณ์เหล่านี้อาจส่งผลกระทบต่อผลตอบแทนในพอร์ตการลงทุนของเราได้ ทำให้เราต้องปรับสัดส่วนการลงทุน โดยเพิ่มการลงทุนในหลักทรัพย์/ทรัพย์สินที่ได้รับ ผลกระทบจากเหตุการณ์ดังกล่าวน้อยที่สุด |
|
สรุปหลักง่าย ๆ ในการพิจารณาปรับปรุงพอร์ต คือ ดูการเปลี่ยนแปลงของตัวเราเอง เช่น หน้าที่การงานเปลี่ยน ได้เลื่อนขั้น ขึ้นเงินเดือน เป็นต้น ส่งผลให้เรามีรายได้เป็นกอบเป็นกำมากขึ้น เราก็อาจเพิ่มสัดส่วน การลงทุนไปในสินค้าทางการเงินที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนเพิ่มมากขึ้น หรือลงทุนในระยะยาวที่สม่ำเสมอได้มากขึ้น หรืออีกกรณีหนึ่ง เราได้มีการศึกษาข้อมูลเกี่ยวการลงทุนในสินค้าทางการเงินที่มีความเสี่ยงมากขึ้น มีความรู้หรือมีประสบการณ์ในการลงทุนมากขึ้นจนมีความมั่นใจ ก็อาจเพิ่มสัดส่วนการลงทุนในสินค้าที่เสี่ยงสูงได้เพิ่มขึ้น |
|
ได้เรียนรู้หลักการในการวางแผนการลงทุนเบื้องต้นแล้ว ลองเล่นเกมวางแผนการลงทุน ตาม เป้าหมายการลงทุนและความเสี่ยงที่ตัวคุณยอมรับได้ เพื่อทำความรู้จักกับการจัดสรรเงินลงทุน สินค้าในการลงทุนต่าง ๆ ให้มากยิ่งขึ้น ในหัวข้อ “มาวางแผนการลงทุนกันเถอะ” |
|
|
|
แสดงความคิดเห็น